สรุปท้ายบท
คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน
ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะในเรื่องของระบบคอมพิวเตอร์
ความหมายปละลักษณะสำคัญของของเครื่องคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบ ประเภท
ตลอดจนการจัดประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของไมโครคอมพิวเตอร์
และบริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้เรื่องระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์มี 4 องค์ประกอบ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. ข้อมูลและสารสนเทศ
4. บุคลากร (Peepleware)
องค์ประกอบแต่ละอย่างล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันทั้นสิ้น
หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การทำงานจะไม่มีความสมบูรณ์เต็มที่
พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วยทำงาน 5 หน่วยด้วยกันคือ
หน่วยประมวลผลกลางหน่วยความจำหลั หน่วยความจำสำรอง
ซึ่งทำหน้าที่ให้ประมวลผลหน่วยความจำหลักทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งประมวลผล
หน่วยผลความจำสำรองจะใช้เป็นที่เก็บและ
บันทึกข้อมุลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อสามารถเลือกใช้ภายหลังได้
และมีทิศทางของระบบการทำงานเป็นเหมือนเส้นทางส่งผ่านข้อมูลระหว่างซีพียูและหน่วยความจำให้สามารถเชื่อมต่อกันได้
แบบฝึกหัดบทที่ 2
1. ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. ฮาร์ดแวร์
เป็นอุปกรณ์ที่จับต้องได้ สัมผัสได้ มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม
มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่อง (เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม)
และที่ติดตั้งอยู่ภายนอก (เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ
เครื่องพิมพ์)ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุคำสั่งเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
โดยปกติแล้วจะถูกสร้างโดยบุคคลที่เรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (programmer) เป็นองค์ประกอบทางนามธรรม
ไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้เหมือนกับฮาร์ดแวร์ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
2..ซอฟท์แวร์ประยุกต์
2. หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด
มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ. สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอพต์แวร์แห่งชาติ
เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย
โดยมียุทธศาสตร์หลักในการผลักดันซอฟต์แวร์ของไทย อาทิ Enterprise Software, Animation and Multimedia, Game and Mobile
Applications และ Embedded Software ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
3. นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง
จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. ต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานอย่างไร
เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด เช่น
สำนักงานบัญชีต้องการซอฟแวร์แบบใดที่เหมาะกับงานบัญชี
4. ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ. 1. มีความชำนาญทางด้านเทคนิคโดยเฉพาะ
2.มีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
3.หน้าที่หลักคือ
การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้ใช้งานได้ตามปกติ
5. Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ. เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอย่างมีแบบแผน
อาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟท์แวร์
และหาคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาได้
มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร อยู่ในทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์กลุ่มเดียวกับนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ
พบเห็นได้กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น การสร้างระบบปฏิบัติการ
การเขียนโปรแกรมเกมส์
6. การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย
เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ. ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก
(Network Administrator)
7. binary digit คืออะไร
เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ตอบ. ระบบเลขฐานสอง
หรือที่เรียกว่า binary system เป็นหลัก
ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 กับ 1 เราเรียกว่าเป็นตัวเลขฐานสองหรือไบนารีดิจิต (binary
digit) มักเรียกย่อๆว่า บิต(bit) นั่นเอง
เกี่ยวข้องคือ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์
ต้องแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน
สถานะหรือรูปแบบนี้เราเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล
8. กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์
มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ขั้นตอนที่ 1 กด SHIFT+Dเพื่อป้อนตัวอักษร
ขั้นตอนที่ 2 สัญญาณของตัวอักษร D ส่งไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนที่ 3 แปลงอักษร D ให้อยู่ในรุปแบบมาตรฐาน ของรหัส ASCขั้นตอนที่ 4
แสดงผลโดยแปลงกลับเป็นตัวอักษร D บนอุปกรณ์แสดงผล
9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง
จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. ยุคแรกใช้บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมลายทอผ้า
นำบัตรแบบใหม่มาประยุกต์ใช้มากขึ้น เช่น IBM 80 Column พัฒนามาใช้สื่อแบบใหม่มากขึ้นจนถึงปัจจุบัน
แบ่งการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้เป็น 2วิธีด้วยกันคือ
- ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) ผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด
ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูล เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) สำหรับข้อมูลประเภทตัวอักษร
หรืออักขระพิเศษ สแกนเนอร์ (scanner)สำหรับข้อมูลประเภทภาพ
ไมโครโฟน (microphone) สำหรับข้อมูลประเภทเสียง ฯลฯ
-ผ่านสื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ดึงเอาข้อมูลที่ได้บันทึกหรือเก็บข้อมูลไว้ก่อนแล้วโดยใช้
สื่อเก็บบันทึกข้อมูล สำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ หรือซีดี
เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลเหล่านี้โดยอาศัยเครื่องอ่านสื่อโดยเฉพาะ เช่น
ฟล็อปปี้ไดรว์ ซีดีรอมไดรว์
บัตรเจาะรูจัดอยู่ในกลุ่มการนำเข้าข้อมูลวิธีนี้เช่นกัน
(ปัจจุบันไม่พบเห็นการใช้งานแล้ว)
10. พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ
“สมอง” และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้อง
อะไรบ้าง
ตอบ. หน่วยประมวลผลกลาง
ประกอบด้วย1. ระบบเลขฐานสอง หรือ
ไบนารี (Binary) 2. แอดเดรส3. บัส 4.
หน่วยความจำแคช 5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา6.
รีจิสเตอร์ 7. ทรานซิสเตอร์ 8.
Arithmetic logic unit (ALU)9. Floating - Point Unit (FPU)10. Control Unit 11.
Decode unit
11. ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ. Rom คือ หน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว
ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ใช้เก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะข้อมูลใน
ROM จะอยู่กับเครื่องอย่างถาวร
ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องไปก็ไม่สามารถทำให้ข้อมูลหรือคำสั่งในการทำงานต่างๆหายไปได้นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าnonvolatile
memoryส่วนRAM หน่วยความจำที่จดจำข้อมูลคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงานอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา
หากไฟดับหรือมีการปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะถูกลบเลือนหายไปหมด
12. machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
จงอธิบาย
ตอบ. วัฏจักรเครื่อง
หมายถึง วงจรการทำงานของ Processor ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเวลาที่Processor
ทำงาน โดยจะถูกควบคุมด้วยแผงวงจรเล็กๆ ที่ระบบ PC เรียกว่า Clock ซึ่งวัดหน่วยเป็นล้านรอบต่อวินาที (MHz)
13. ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ. เวลาปฏิบัติการ
อยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 (Execute และ Store)
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้
โดยนางสาวพิไลพร
มุมทอง สาขา SME2/1
กลุ่มเรียนวันพุธ12.30-15.30