วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สรุปท้ายบทที่ 9

   เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการนำเสนอคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสามารถทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการคือ การใช้ข้อมูลทำได้ช้า ไม่สามารถทำได้ทันทีและยากต่อการควบคุมดูแลในบางกรณี ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปอาจแบ่งได้กว้างๆ เป็น  2ลักษณะคือ LANและ WANองค์ประกอบของเครือข่ายประกอบด้วย อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และตัวกลางนำข้อมูล ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่สายเคเบิลชชิดต่างๆ เช่น สาย Coaxial,สาย UTP, คลื่นวิทยุ,สาย Fiber Optic เป็นต้น
        เครือข่ายแบบไร้สาย คือเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์คือไม่ต้องเดินสายเหมือน  LANแบบอื่น เหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือที่ไม่สะดวกเดินสาย แต่จะทำความเร็วได้ต่ำกว่าแบบใช้สายหลายเท่า
   การจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมี2แบบใหญ่ๆ คือ Peer-to-Peer ซึ่งทุกเครื่องจะมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน  และแบบ   Server-based ซึ่งมีบางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หรือผู้ให้บริการแก่เครื่องอื่นหรือที่เรียกว่า ไคลเอนต์


        อ้างอิง: หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9  

1. นักศึกษาคิดว่าเหตุใดจึงต้องนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน
ตอบ. เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการทำงานในองค์กรที่ประกอบด้วยหลายๆแผนก หรือมีหน่วยงานที่ต้องติดต่อร่วมกันอยู่ในพื้นที่ระยะไกล เช่น ข้ามจังหวัดหรือประเทศ การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย จึงทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่ายมากขึ้น ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อถึงกันได้ทันที ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลาและสถานที่ลงไปได้

2. ระบบเครือข่ายมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.
ข้อดีคือ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์หรือพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนั้นไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นก็สามารถเรียกใช้งานได้จากหลายๆเครื่องหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้โดยง่าย ข้อเสียของระบบเครือข่ายอาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน เช่น เรียกใช้ข้อมูลได้ช้าเพราะข้อจำกัดทางสายของเครือข่ายที่ทำได้ช้ากว่าสายต่อภายในเครื่อง นอกจากนี้ยังอาจทำให้ยากต่อการควบคุมและดูแลได้เพราะมีผู้ใช้หลายคนร่วมกัน อีกทั้งข้อมูลอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที หากผู้ใดผู้หนึ่งเรียกใช้ข้อมูลอยู่เป็นต้น

3. สายเคเบิลที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากที่สุดคือสายชนิดใด จงบอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของสายดังกล่าว
ตอบ.
สายแบบ UTP หรือแบบไม่มีฉนวนหุ้ม ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากมีราคาถูกและติดตั้งได้
ง่าย เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์ มี 8 เส้นตีเกลียวกันเป็นคู่ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวน การเดินสายต้องต่อจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือ hubเท่านั้น

4. จงอธิบายวิธีการทำงานแบบ CSMA/CD ที่ใช้ในระบบเครือข่าย มาพอเข้าใจ
ตอบ. วิธีการนี้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอย ฟังว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าพบว่าสายว่างก็จะเริ่มส่งสัญญาณออกมา ซึ่งถ้าสายว่างจริงข้อมูลก็จะส่งไปถึงผู้รับได้เลย แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้นจากหลายๆสถานีพร้อมกันได้ เพราะต่างคนต่าง ฟังและเข้าใจว่าสายว่างพร้อมๆกัน ผลก็คือสัญญาณที่จะได้จะชนกันในสาย ทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้ ดังนั้นแต่ละเครื่องจึงต้องสามารถตรวจจับการชนกันของสัญญาณได้ด้วย เมื่อเครื่องที่ส่งข้อมูลออกมาชนกัน ก็ให้หยุดส่งและรอ โดยนับถอยถอยหลังตามเวลาที่สุ่มขึ้นมาซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างแต่ละเครื่อง แล้วค่อยส่งข้อมูลออกมาใหม่

5. จงสรุปความหมายของ Server และ Client มาพอเข้าใจ
ตอบ. Server คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลสำหรับเครื่องอื่นๆที่อยู่ในเครือข่าย มักมีหน้าที่และชื่อเรียกที่แตกต่างกันแล้วแต่การลักษณะการให้บริการ เช่น mail server, file server, web server,
pint server หรือ database server เป็นต้นClient คือเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในระบบ มีหน้าที่ร้องขอหรือเรียกใช้บริการจากเครื่องแม่ข่ายเพื่อทำงานหรือขอข้อมูลบางอย่างนั่นเอง

6. HUB คืออะไร เอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรกับระบบเครือข่าย
ตอบ. ตัวรวมสายซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในการต่อ LAN โดยสามารถโยกย้ายสาย สลับเครื่องหรือเพิ่มจำนวนเครื่องได้ เนื่องจากสายทั้งหมดจากทุกเครื่องจะลากมารวมอยู่ที่เดียวกันหมด โดยเราอาจทำเป็นตู้หรือห้องไว้เก็บสายให้เรียบร้อยด้วยก็ได้ อาจมีจำนวนพอร์ตเพื่อใช้สำหรับต่อสายต่างกันได้ในแต่ละตัว เช่น 5, 8, 10, 16 และ 24 พอร์ตหรือมากกว่านั้น เป็นต้น

7. จงยกตัวอย่างมาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูงพร้อมทั้งอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. มาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูง มีดังต่อไปนี้
-100Base-T เป็นระบบที่พัฒนาต่อจาก Ethernet โดยใช้สายที่ดีขึ้นกว่าเดิม คือสายUTP แบบ Category 5
หรือดีกว่า การต่อนั้นใช้ hub ที่ทำมาให้รองรับความเร็ว 100 Mbps ด้วยเท่านั้น
-Gigabit Ethernet หรือเรียกกันเป็น 1000Base-T (สาย UTP) หรือ 1000Base-F (สาย Fiber optic) สามารถส่งข้อ

มูลได้ในระดับความเร็ว 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความเร็วสูงมาก เช่น งานกราฟฟิก หรือใช้เชื่อมต่อตรงช่วงที่เข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้สามารถรับงานจากเครื่องอื่นๆได้มากพร้อมกัน สายที่ใช้อาบพบเห็นได้ทั้งแบบ UTP (ความยาวไม่มากนัก) และแบบไฟเบอร์ออพติก
-Gigabit Ethernet เป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบอื่นๆ คือทำได้ถึง 10,000 Mbps หรือ 10 Gbps นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่อกับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันระหว่างเมือง หรือ WAN เป็นต้น

8. จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของสายแบบโคแอกเชี่ยล
ตอบ.
สายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน โดยมากใช้กับเครือข่ายแบบ Ethernet ดั้งเดิมซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมระหว่างแต่ละเครื่องโดยตรงในลักษณะที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์รวมสายเข้ามาช่วย ปัจจุบันเริ่มใช้กันน้อยลงเพราะถูกทดแทนด้วยสายแบบอื่นที่มีราคาถูกและทำความเร็วได้ดีกว่า

9. จงบอกถึงหน้าที่หลักของอุปกรณ์ Router
ตอบ.
Router จะทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทางที่ต้องการ หน้าที่หลักของ router คือหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่นซึ่งอาจใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ โดยมีการแปลงหรือจัดรูปข้อมูลตามแบบของเครือข่ายที่จะส่งต่อนั้นด้วย


โดยนางสาวพิไลพร  มุมทอง   สาขา Sme 2/1  กลุ่มเรียนวันพุธ-บ่าย

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8 การเขียนผังงาน

สรุปท้ายบทที่ 8
          ผังงาน (Flowchart) เป็นเครื่องมือแสดงลำดับการทำงานด้วยภาพสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ทำให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานได้ชัดเจน และนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยลักษณะของผังงานมีหลายรูปแบบคือ แบบเรียงลำดับ (Sequence), แบบมีเงื่อนไข (Decision) และแบบทำซ้ำ (Loop) ซึ่งแตกจ่างกันไปตามลักษณะของการทำงานนั้นๆ
          ก่อนเริ่มลงมือเขียนโปรแกรมหรือปฏิบัติงานใดๆควรเขียนขั้นตอนและผังงานเพื่อจัดลำดับความคิดและลำดับการทำงานให้ถูกต้อง ทำให้เห็นภาพรวมของงาน และไปแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ผิดพลาดไปได้ง่าย โดยไม่ต้องเริ่มคิดใหม่ตั้งแต่ต้น
          เราสามารถเขียนผังงานโดยใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือต่างๆช่วยในการออกแบบ ซึ่งมีผู้ผลิตโปรแกรมออกมาหลายค่าย ทำให้ลดขั้นตอนและเวลาการทำงานลงไปได้มากยิ่งขึ้น 
        
อ้างอิง: หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

 1. ผังงาน (flowchart) คืออะไร
ตอบ. ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า

2. อธิบายรูปแบบผังงานแบบเรียงลำดับ (sequence) แบบมีเงื่อนไข (decision) และแบบทำซ้ำ (loop)
ตอบ.
1)การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ จะเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ในแบบตามลำดับได้
         2)การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
         3) การทำซ้ำ (Loop) คือ การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการ ถึงรูปแบบการทำงาน และใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างผังงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการแสดงคำสั่งทำซ้ำ(do while) ซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

3. ขั้นตอนการทำงานซ้ำแบบ while…do และ do…until ต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. while...do เป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
ส่วน do…until เป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน

4. จงบอกประโยชน์ของผังงาน
ตอบ. 1.) ทำให้มองเห็นรูปแบบของงานได้ทั้งหมด โดยใช้เวลาไม่มาก
         2.) การเขียนผังงานเป็นสากลสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้ทุกภาษา
         3.) สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว
         4.) หากมีการพัฒนาระบบงานในลำดับต่อไป สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยศึกษาจากผังงานจะสามารถศึกษาได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจง่ายกว่าการศึกษาจากโปรแกรม
        
5. จงเขียนขั้นตอน (algorithm) และวาดผัง (flowchart) สำหรับการทำงานต่อไปนี้
5.1 การยืมหนังสือในห้องสมุด
ตอบ. การยืม   หนังสือที่เหลือ=จำนวนหนังสือที่มี-จำนวนที่ยืม  
                แทนเป็นสมการA=B-N
         การคืน   จำนวนที่ยืม+หนังสือที่เหลือ=จำนวนหนังสือที่มี
               แทนเป็นสมการ N+A=B
5.2 ระบบไฟจราจร



5.3 การขึ้น/ลงลิฟต์
ตอบ.  เมื่อค่าน้อยกว่าให้บวกเมื่อเท่ากันให้หยุดเมื่อค่ามากกว่าให้ลบเมื่อเท่ากันให้หยุด


นางสาวพิไลพร  มุมทอง  สาขา Sme 2/1  กลุ่มเรียนวันพุธ-บ่าย