สรุปท้ายบทที่ 8
ผังงาน (Flowchart) เป็นเครื่องมือแสดงลำดับการทำงานด้วยภาพสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ทำให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานได้ชัดเจน และนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยลักษณะของผังงานมีหลายรูปแบบคือ แบบเรียงลำดับ (Sequence), แบบมีเงื่อนไข (Decision) และแบบทำซ้ำ (Loop) ซึ่งแตกจ่างกันไปตามลักษณะของการทำงานนั้นๆ
ก่อนเริ่มลงมือเขียนโปรแกรมหรือปฏิบัติงานใดๆควรเขียนขั้นตอนและผังงานเพื่อจัดลำดับความคิดและลำดับการทำงานให้ถูกต้อง ทำให้เห็นภาพรวมของงาน และไปแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ผิดพลาดไปได้ง่าย โดยไม่ต้องเริ่มคิดใหม่ตั้งแต่ต้น
เราสามารถเขียนผังงานโดยใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือต่างๆช่วยในการออกแบบ ซึ่งมีผู้ผลิตโปรแกรมออกมาหลายค่าย ทำให้ลดขั้นตอนและเวลาการทำงานลงไปได้มากยิ่งขึ้น
ผังงาน (Flowchart) เป็นเครื่องมือแสดงลำดับการทำงานด้วยภาพสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ทำให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานได้ชัดเจน และนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยลักษณะของผังงานมีหลายรูปแบบคือ แบบเรียงลำดับ (Sequence), แบบมีเงื่อนไข (Decision) และแบบทำซ้ำ (Loop) ซึ่งแตกจ่างกันไปตามลักษณะของการทำงานนั้นๆ
ก่อนเริ่มลงมือเขียนโปรแกรมหรือปฏิบัติงานใดๆควรเขียนขั้นตอนและผังงานเพื่อจัดลำดับความคิดและลำดับการทำงานให้ถูกต้อง ทำให้เห็นภาพรวมของงาน และไปแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ผิดพลาดไปได้ง่าย โดยไม่ต้องเริ่มคิดใหม่ตั้งแต่ต้น
เราสามารถเขียนผังงานโดยใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือต่างๆช่วยในการออกแบบ ซึ่งมีผู้ผลิตโปรแกรมออกมาหลายค่าย ทำให้ลดขั้นตอนและเวลาการทำงานลงไปได้มากยิ่งขึ้น
อ้างอิง: หนังสือ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8
1. ผังงาน (flowchart) คืออะไร
ตอบ. ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า
ตอบ. ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า
2. อธิบายรูปแบบผังงานแบบเรียงลำดับ (sequence) แบบมีเงื่อนไข (decision) และแบบทำซ้ำ (loop)
ตอบ. 1)การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ จะเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ในแบบตามลำดับได้
2)การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
3)
การทำซ้ำ (Loop) คือ
การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม
หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก
เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart)
ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการ ถึงรูปแบบการทำงาน
และใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างผังงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการแสดงคำสั่งทำซ้ำ(do
while) ซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง
และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ
3. ขั้นตอนการทำงานซ้ำแบบ while…do และ do…until ต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. while...do เป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
ส่วน do…until เป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
4. จงบอกประโยชน์ของผังงาน
ตอบ. 1.) ทำให้มองเห็นรูปแบบของงานได้ทั้งหมด โดยใช้เวลาไม่มาก
2.) การเขียนผังงานเป็นสากลสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้ทุกภาษา
3.) สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว
4.) หากมีการพัฒนาระบบงานในลำดับต่อไป สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยศึกษาจากผังงานจะสามารถศึกษาได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจง่ายกว่าการศึกษาจากโปรแกรม
5. จงเขียนขั้นตอน (algorithm)
และวาดผัง (flowchart) สำหรับการทำงานต่อไปนี้
5.1 การยืมหนังสือในห้องสมุด
5.1 การยืมหนังสือในห้องสมุด
ตอบ. การยืม หนังสือที่เหลือ=จำนวนหนังสือที่มี-จำนวนที่ยืม
แทนเป็นสมการA=B-N
การคืน จำนวนที่ยืม+หนังสือที่เหลือ=จำนวนหนังสือที่มี
แทนเป็นสมการ N+A=B
แทนเป็นสมการA=B-N
การคืน จำนวนที่ยืม+หนังสือที่เหลือ=จำนวนหนังสือที่มี
แทนเป็นสมการ N+A=B
5.2 ระบบไฟจราจร
5.3 การขึ้น/ลงลิฟต์
ตอบ. เมื่อค่าน้อยกว่าให้บวกเมื่อเท่ากันให้หยุดเมื่อค่ามากกว่าให้ลบเมื่อเท่ากันให้หยุด
นางสาวพิไลพร มุมทอง
สาขา Sme 2/1 กลุ่มเรียนวันพุธ-บ่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น